วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550
การใช้สื่อการสอน
การใช้สื่อการสอน
1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป
2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้
3. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง
4. ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียนเกิดเป็น Concept ในเนื้อหาแต่ละเรื่อง
5. ใช้สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้จักขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ (Control and Creativity)
***ที่มา:http://www.la.ubu.ac.th***
ประเภทของสื่อการสอน
...เอ็ดการ์ เดล จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์" (Cone of Experiences) ซึ่งมีทั้งหมด 10 ขั้น ดังแผนภาพต่อไป...
...โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้
วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น
...ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้
ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials)
1. ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)
- ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)
- ภาพเขียน (Drawing)ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)
- ภาพตัด (Cut-out Pictures)
- สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)
- ภาพถ่าย (Photographs)
- ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)
- สไลด์ (Slides) ฟิล์มสตริป (Filmstrips)
- ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)
- ภาพโปร่งแสง (Transparencies)
- ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)
- ภาพยนตร์ (Video Tape)
2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)
- แผนภูมิ (Charts)
- กราฟ (Graphs)
- แผนภาพ (Diagrams)
- โปสเตอร์ (Posters)
- การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)
- รูปสเก็ช (Sketches)
- แผนที่ (Maps)
- ลูกโลก (Globe)
3. ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays)
- กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard,Chalk Board)
- กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards)
- กระดานนิเทศ (Bulletin Boards)
- กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards)
- กระดานไฟฟ้า (Electric Boards)
4. ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials) มีดังนี้
- หุ่นจำลอง (Models)
- ของตัวอย่าง (Specimens)
- ของจริง (Objects)
- ของล้อแบบ (Mock-Ups)
- นิทรรศการ (Exhibits)
- ไดออรามา (Diorama)
- กระบะทราย (Sand Tables)
5. ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials)
- แผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)
- เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials)
- รายการวิทยุ (Radio Program)
6. ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays)
- การทัศนาจรศึกษา (Field Trip)
- การสาธิต (Demonstrations)
- การทดลอง (Experiments)
- การแสดงแบบละคร (Drama)
- การแสดงบทบาท (Role Playing)
- การแสดงหุ่น (Pupetry)
ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
- เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.
- เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
- เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
- เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
- เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
- เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
- เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
- เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
- เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
- จอฉายภาพ (Screen)
- เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)
- เครื่องขยายเสียง(Amplifier)
- อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา
- โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ
...จากการศึกษาถึงความสำคัญ ตลอดจนการแบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอนข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสื่อการสอนที่มีบทบาทในการทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี แม้สื่อการสอนจะมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก แต่ก็ต้องอาศัยเทคนิคในการใช้สื่อการสอนด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีนักวิชาการให้ข้อคิดในการใช้สื่อต่าง ๆ กับการสร้างแบบการเรียนรู้ ดังจะกล่าวต่อไปนี้
หลักในการใช้สื่อ ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้
...1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
...2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
...3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน
...4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
...5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่
...6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
...7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
...8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
...9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
...10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
เมื่อได้ภาพที่ตัดสมบูรณ์แล้ว สามารถใช้ Filter ในการปรับแต่งภาพโดยวิธีดังนี้ เช่นไปที่ เมนู Filter > Stylize > Emboss สามารถปรับค่าต่างๆ ให้ภาพดูสวย พอใจแล้ว OKสามารถปรับแต่งภาพโดยใช้ Filter ได้หลายวิธีตามความต้องการ เช่น Sketch ,Artistic และอื่นๆโดยการ save ภาพต้นฉบับไว้ 1 ภาพ เพื่อสำหรับปรับแต่งภาพไว้หลายๆแบบ ไว้เลือกหรือเปรียบเทียบ
......Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe เป็นโปรแกรมที่ใช้ตกแต่งภาพหัวใจของ Photoshop คือการทำงานเป็น LayerLayer คือ ชั้นของรูปภาพ วัตถุ จะไม่เกี่ยวข้องกันการตั้งค่าหน้ากระดาษ มีวิธีการดังนี้ไปที่ เมนู File > New จะกำหนดค่าต่างๆคือ
...............Width : กำหนดความกว้าง
...............Height :กำหนดความสูงควรเปลี่ยนหน่วยวัดด้านหลังก่อนกำหนดตัวเลข เช่น inches, pixels, cm ,mm
..............Resolotion : กำหนดเป็น 300Mode :
..............กำหนดโหมดสี ควรกำหนดเป็น RGB ก่อน เป็นสีของแสง
.............สีที่ใช้ในโรงพิมพ์ Picment คือ เม็ดสี ฝุ่นสีก็คือโหมด CMYK
* C = Cyan สีฟ้า
* M= Mageta สีม่วงแดง
* Y=Yellow สีเหลือง
* K=Black สีดำ
* Content กำหนด BackgroundWhite พื้นจะเป็นสีขาวTransparent พื้นจะเป็นสีใส หรือ โปร่งแสง
............การเปิดภาพที่เราต้องการ มีวิธีการดังนี้ไปที่เมนู File > Open เลือก ไฟล์ต่างๆที่ต้องการภาพ หากต้องการมองภาพให้ทำให้เป็น thumbnailsแล้วดับเบิลคลิกที่ภาพจะได้ภาพที่ต้องการ
.....การตัดภาพ.....
การตัดภาพการตัดภาพในโปรแกรม Photoshop สามารถใช้เครื่องมือได้หลายชนิด เช่นไปที่ Elliptical Marquee tool แล้วลากที่ภาพ จะขึ้นเป็นเส้นselection ถ้าต้องการยกเลิกมี 3 วิธี
1. คลิกที่ภาพ
2. Ctrl + D
3. ไปที่เมนู Select > Deselectเมื่อลากที่ภาพแล้วใช้ Arrow Key เลื่อน
......การทำภาพเพิ่ม.....
1. ไปที่ Edit > Copy แล้วไปที่ Edit > Paste เส้น Select จะหายไป ได้ Layerที่
2. Ctrl+T หรือ ไปที่เมนู Edit >Free Tranfrom
3. กด Shift ย่อภาพที่มุม
4. Ctrl +T
5. ลากกลับภาพ แล้ว enter Ctrl +T จะหาย
.....ขั้นตอนการตกแต่งภาพ.....
1. Double คลิก Layer2 จะเป็น Layer Style เลือก Bevel and Emboss การทำให้นูน
2. ตั้งค่า ต่างๆ smooth, depth, size, soften ให้ภาพดูสวย
3. Double คลิก Layer 2 เลือก Drop Shadow ใส่เงา ตั้งค่าตามต้องการ
4. ไปที่ Opacity เป็นการปรับภาพให้จางลง
......การแก้ไขงาน..... ทำได้ 2 วิธี คือ
1. Ctrl + Z เป็นการกลับไปยังคำสั่งสุดท้าย
2. ไปที่ History เลือกกลับไปยังครั้งที่ต้องการแก้ไข
.....การตัดพื้นการใช้ Polygonal Lasso Tool.....
คลิกที่ภาพแล้วปล่อยจึงคลิกที่ภาพต่อไปเรื่อยๆ ถ้าต้องการตัดพื้นหลังออกให้คลิกในพื้นหลังจนกลับถึงจุดแรกให้เป็นเส้น select แล้วลบ พื้นหลังจะถูกลบออก ทำเช่นนี้ต่อไปจนได้ภาพที่ต้องการ แล้วจึงใช้ยางลบ ลบพื้นหลังที่ที่ยังเหลือให้มีเพียงภาพ แล้วจึงค่อยตกแต่ง
.....การบันทึกงาน.....
สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. การ Save งานในนามสกุล PSD เพื่อสามารถไว้แก้ไข แต่จะเปลืองพื้นที่ มีวิธีการดังนี้1. เลือกเมนู File > Save as2. กำหนด Folder ที่จะเก็บงาน ชื่อและประเภทของไฟล์ ที่จะ save3. กำหนดค่าต่างๆ และที่ช่อง save กำหนดเป็น สกุลของ Photoshop คือ .psd
2. การ Save งานในนามสกุล JPEG เป็นการ save ที่ไม่สามารถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว แต่เป็นการsave ที่ไม่เปลืองพื้นที่
3. การ Save งานในนามสกุล GIF เป็นการ save ที่ไม่สามรถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว แต่จะเป็นการ save ที่จะไม่ติดพื้นหลังมาด้วยเมื่อมีการตัดภาพ (พื้นโปร่ง)
*************************************************