วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550

ประเภทของสื่อการสอน

ประเภทของสื่อการสอน
...เอ็ดการ์ เดล จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์" (Cone of Experiences) ซึ่งมีทั้งหมด 10 ขั้น ดังแผนภาพต่อไป...


...โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้
วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น

...ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้
ประเภทวัสดุโสตทัศน์
(Audio-Visual Materials)
1. ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)

  • ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)
  • ภาพเขียน (Drawing)ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)
  • ภาพตัด (Cut-out Pictures)

  • สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)
  • ภาพถ่าย (Photographs)

  • ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)

  • สไลด์ (Slides) ฟิล์มสตริป (Filmstrips)

  • ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)

  • ภาพโปร่งแสง (Transparencies)

  • ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)

  • ภาพยนตร์ (Video Tape)

2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)

  • แผนภูมิ (Charts)
  • กราฟ (Graphs)
  • แผนภาพ (Diagrams)
  • โปสเตอร์ (Posters)
  • การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)
  • รูปสเก็ช (Sketches)
  • แผนที่ (Maps)
  • ลูกโลก (Globe)

3. ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays)

  • กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard,Chalk Board)

  • กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards)
  • กระดานนิเทศ (Bulletin Boards)

  • กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards)

  • กระดานไฟฟ้า (Electric Boards)

4. ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials) มีดังนี้

  • หุ่นจำลอง (Models)

  • ของตัวอย่าง (Specimens)

  • ของจริง (Objects)

  • ของล้อแบบ (Mock-Ups)

  • นิทรรศการ (Exhibits)

  • ไดออรามา (Diorama)

  • กระบะทราย (Sand Tables)

5. ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials)

  • แผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)

  • เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials)

  • รายการวิทยุ (Radio Program)

6. ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays)

  • การทัศนาจรศึกษา (Field Trip)

  • การสาธิต (Demonstrations)

  • การทดลอง (Experiments)

  • การแสดงแบบละคร (Drama)

  • การแสดงบทบาท (Role Playing)

  • การแสดงหุ่น (Pupetry)

ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)

  • เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.

  • เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)

  • เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)

  • เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)

  • เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)

  • เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)

  • เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)

  • เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)

  • เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)

  • จอฉายภาพ (Screen)

  • เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)

  • เครื่องขยายเสียง(Amplifier)

  • อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา

  • โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ

...จากการศึกษาถึงความสำคัญ ตลอดจนการแบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอนข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสื่อการสอนที่มีบทบาทในการทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี แม้สื่อการสอนจะมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก แต่ก็ต้องอาศัยเทคนิคในการใช้สื่อการสอนด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีนักวิชาการให้ข้อคิดในการใช้สื่อต่าง ๆ กับการสร้างแบบการเรียนรู้ ดังจะกล่าวต่อไปนี้